img_6366
img_0971wf_sm520img_0973img_0993img_2455img_2459

เหล็กเอชบีม / H-Beam (บาท/เส้น)

3,591.36฿77,400.00฿

เหล็กเอชบีม (H – BEAM) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เหมาะสำหรับงานโครงสร้างชนิดต่างๆ เช่น โรงงาน อาคารสูง สนามกีฬา เสาส่งไฟฟ้า ตลอดจนบ้านพักอาศัย คาน เสาและโครงหลังคา  เสาส่งไฟฟ้า

ล้างค่า
รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่: ป้ายกำกับ: , , ,

Product Description

เหล็กเอชบีม (H – BEAM) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เหมาะสำหรับงานโครงสร้างชนิดต่างๆ เช่น โรงงาน อาคารสูง สนามกีฬา เสาส่งไฟฟ้า ตลอดจนบ้านพักอาศัย คาน เสาและโครงหลังคา  เสาส่งไฟฟ้า

Steel H-Beam นั้นมีขนาดหน้าตัดให้เลือกใช้ที่หลากหลาย ตั้งแต่ขนาด H 100×50 mm.  จนถึงขนาดใหญ่สุด H900x300 mm.  ทำให้ H-Beam นั้นถูกเลือกใช้ในงานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างของอาคาร, โครงสร้างของโรงงาน หรืองานโครการขนาดใหญ่ เช่น โรงจอดเครื่องบิน (Hangar)

ลักษณะของเหล็ก  จะคล้ายรูปตัว H มีขนาด ด้านกว้างและด้านยาวเท่ากัน

เกรดเหล็ก SS400  , SM520   ความยาวปกติ 6 M. / 9 M. / 12 M.

เหล็กเอชบีม H-beam  (H-Beam Steel)

เหล็กเอชบีม (H – BEAM) เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน อีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับงานโครงสร้าง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในงาน โครงสร้างเหล็ก ซึ่งใช้ร่วมกับ เหล็กรูปพรรณอื่นๆได้ เช่น เหล็กรางน้ำ เหล็กกล่อง เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของ H-beam เอชบีม

ลักษณะของเหล็ก จะคล้ายรูปตัว H มีขนาด ด้านกว้างและด้านยาวเท่ากัน เช่น H-beam 200×200
( ลักษณะที่เด่นชัดคือปีกที่กว้างที่เท่ากัน )
เกรดเหล็กเอชบีม SS400 , SM520 ความยาวปกติ 6 M. / 9 M. / 12 M.

การผลิตเหล็กเอชบีม

เหล็กเอชบีม (H-BEAM) คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel) ที่เกิดจากการหลอมและหล่อเป็นเหล็กแท่ง แล้วรีดในขณะที่เหล็กยังร้อนให้มีหน้าตัดเป็นรูปตัวอักษรภาษาอังกฤษ “H” ตามการเรียกชื่อ รูปแบบของหน้าตัดจะมีปีก (Flange) กว้างออกมาจากเอว (Web) ตรงกลาง โดยจะมีความหนาของเหล็กในส่วนปีกเท่ากันตลอด ไม่มีการปาดหรือลบมุมที่ปลายปีก

การใช้งานเหล็กเอชบีม

เหล็กเอชบีมเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นโครงสร้างคาน เสา และโครงสร้างหลังคา ทั้งในอาคารบ้านพักอาศัย โรงงาน อาคารสูง หรือสนามกีฬา ทั้งนี้เหล็กเอชบีม (H-BEAM) ตามมาตรฐาน ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่าเหล็ก Wide Flange (W-Shape)

ปัจจุบันเหล็กเอชบีม (H-BEAM) รวมทั้งเหล็กรูปพรรณแบบต่างๆ สามารถผลิตได้ภายในประเทศไทยและได้รับความนิยมมากในงานก่อสร้าง เนื่องจากงานก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แห้งหรือเซตตัวต่างจากงานคอนกรีต สามารถดัดโค้งได้ มีขนาดที่ได้มาตรฐานเนื่องจากผลิตมาจากโรงงาน เป็นการก่อสร้างด้วยระบบแห้งหน้างานจึงไม่สกปรกเลอะเทอะ สามารถนำมาดัดแปลง ต่อเติม และรื้อถอนได้ง่าย และยังสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งอีกด้วย

สีกันสนิม

คือ เป็นสีที่ใช้ทาเหล็กเพื่อป้องกันการเกิดสนิมจากสภาพอากาศต่าง ๆ และมีอีกชื่อที่เรียกกันอีกคือสีรองพื้นกันสนิม อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการช่วยให้สีจริงยึดเกาะกับตัวเหล็กมากยิ่งขึ้น

การเลือกสีกันสนิมให้เหมาะสมกับเหล็ก

ก่อนอื่นต้องดูสภาพเหล็กก่อนว่ามีลักษณะพื้นผิวแบบไหนว่ามีสนิมหรือไม่ เป็นเหล็กเก่าหรือว่าเหล็กใหม่ ซึ่งการสังเกตพื้นผิวของเหล็กเป็นวิธีทีที่สามารถเลือกสีกันสนิมได้ง่ายและหาสีกันสนิมที่เหมาะกับเหล็กที่เราจะใช้งานมากขึ้น

การทาสีเหล็ก แบ่งตามประเภทของเหล็ก

เหล็กใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน

  1. ต้องขัดผิวเหล็กให้สะอาดก่อนแล้วหลังจากนั้นให้ทาสีกันสนิมก่อน 1-2 รอบ เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างสีจริงและตัวเหล็กของเรา
  2. หลังจากที่สีรองพื้นของเราแห้งก็สามารถทาสีจริงได้เลย ในการทาสีจริงหรือสีทาทับหน้านั้นต้องทา 2 รอบและแต่ละรอบใช้เวลาแห้งประมาณ 7 ชั่วโมง อีกทั้งสีจริงและสีรองพื้นที่ทาต้องเป็นยี่ห้อเดียวกันเพื่อให้สีที่เรียบเนียนและสวยงาม

เหล็กเก่าที่มีสนิมแต่ยังสามารถใช้งานได้

  1. ขั้นแรกต้องใช้กระดาษทรายขัดเหล็กให้สนิมที่เกาะติดอยู่กับตัวเหล็กให้หลุดออกให้หมด หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดเหล็กให้สะอาด แล้วทาสีกันสนิมเพื่อป้องกันการเกิดสนิมอีกครั้ง
  2. เมื่อทาสีรองพื้นกันสนิมเสร็จหลังจากนั้นสามารถทาสีจริงที่เหล็กได้เลย

ประเภทของสีรองพื้น

  1. สีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่เป็นสีกันสนิมที่มีคุณภาพที่สูง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพอีกมากมาย ทั้งสามารถทนทานต่อการเสียดทานหรือขูดเป็นอย่างดี เนื่องจากสีรองพื้นประเภทนี้มีคุณภาพที่สูงมากจึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสีรองพื้นกันสนิมประเภทอื่น ถึงจะเป็นรองพื้นกันสนิมที่มีคุณภาพสูงแต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากเป็นสีที่ผู้ใช้ต้องผสมเองอีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ในการผสมต้องใช้ในอัตราส่วนที่กำหนดถ้าผสมผิดจะไม่สามารถแก้ไขได้และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของสีกันสนิมลดลงได้ สีทาสนิมประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับเหล็กที่ต้องการการความทนทานที่สูงและสี่ที่ติดคงทนไม่จำเป็นที่จะต้องทาสีใหม่บ่อย
  2. สีรองพื้นกันสนิมเรดเลดเป็นสีกันสนิมที่มีประสิทธิภาพในการกันสนิมได้ดีมาก เนื่องจากส่วนผสมที่เป็นประเภทตะกั่วที่มีประสิทธิภาพในการกันสนิมได้ดีเยี่ยมอีกทั้งยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยให้สีรองพื้นชนิดนี้เป็นมีประสิทธิภาพในการเกินสนิมใหม่ แต่สีรองพื้นประเภทนี้เป็นสีที่มีราคาตั้งแต่กลาง ๆ จนถึงราคาที่สูงขึ้นอยู่กับส่วนผสม สีประเภทนี้จะใช้ในงานอุตสาหกรรมและโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่
  3. สีรองพื้นกันสนิมอัลคิดเรซิน เป็นสีที่สามารถกันสนิมได้ดีแต่น้อยกว่าสีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่และสีรองพื้นกันสนิมเรดเลด แต่ถึงอย่างนี้สีรองพื้นชนิดนี้ยังเป็นสีรองพื้นที่มีประสิทธิภาพมากสามารถทนทานการขูดและการเสียดทานได้ดีและสีชนิดนี้สามารถใช้ในงานทั่วไปได้เลยจึงทำให้เป็นสีรองพื้นกันสนิมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าสีรองพื้นประเภทอื่นอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างเหล็ก I Beam กับเหล็ก H Beam

หลายท่านคงมีความสงสัยว่าเหล็ก 2 ตัวนี้ แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเหล็กทั้ง 2 หน้าตัดนี้ มีข้อแตกต่างกันอยู่ 2 ด้าน คือ

  1. ด้านการนำไปใช้งานเหล็กเอชบีม H-beam จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร เป็นชิ้นส่วนของ เสา คาน โครงหลังคา ฯลฯ H-BEAM มีขนาดหน้าตัดให้เลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่ H100x50mm. จนถึงขนาดใหญ่สุด H900x300mm. ทำให้ H-BEAM นั้นถูกเลือกใช้ในงานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างอาคาร โครงหล้งคา โครงสร้างโรงงาน หรืองานโครงการขนาดใหญ่เป็นต้น เช่น โรงจอดเครื่องบิน
    เหล็กไอบีม I-beam จะนิยมนำไปทำรางเคน Crane Girder ที่ไว้ใช้ยกของที่มีน้ำหนักมาก แะเหล็กไอบีมนี้ ถูกผลิตขึ้นมากเพื่อใช้ในงานที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะความหนาของ Flange ปีกที่ยื่นออกมา ที่มาก และมีลักษระ Taper เรียวที่ปลาย ไม่เหมือนกับ H-beam ที่มีความหนาของ Flange เท่ากันตลอด ส่งผลให้โดยทั่วไป I-beam จะสามารถรับแรงกระแทกได้ดี แต่ก็จะมีน้ำหนักที่มากกว่า เอชบีม H-Beam ในขณะที่หน้าตัดเท่ากัน เช่น
  • H 300x150x6.5x9mm. นน. 7 กก./ม.
  • I 300x150x8x13mm. นน. 3 กก./ม. ซึ่งจะเห็นได้ว่า I-Beam มีน้ำหนักมากกว่าถึง 32%
  1. ด้านลักษณะรูปร่าง
    แตกต่างของเหล็กทั้ง 2 หน้าตัด คือ ปีก Flange ทั้งบนและล่างของเหล็ก H-beam จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด ส่วนของเหล็กไอบีม I-beam ทั้งปีกบนและล่างจะเป็นแผ่นเอียง หรือ Taper Flange ซึ่งขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากัน I-beam จะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-beam เนื่องจากเหล็ก I-beam จะมีความหนาของเหล็ก

 

 

 


เงื่อนไข : 

1. ราคาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากต้องทำการเช็คราคาและสต๊อกก่อนสั่งซื้อ

2. ราคาที่เสนอเป็นราคาพิเศษ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้า

3. ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าขนส่ง กรณีรับสินค้าเอง –> รับที่คลังสินค้า อำเภอ บางปะกง จังหวัด ฉะเชิงเทรา *