มาตรฐาน มอก. ของเหล็กเส้นก่อสร้างใหม่

มาตรฐานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (ทั้งเหล็กเส้นกลมและ เหล็กข้ออ้อย) มีการปรับปรุงใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น ดังนี้

– เหล็กเส้นกลม มอก. 20-2543 เปลี่ยนเป็น มอก. 20-2559

– เหล็กข้ออ้อย มอก. 24-2548 เปลี่ยนเป็น มอก. 24-2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 ธันวาคม 2559

ผลกระทบ : ผู้ได้รับอนุญาตด้วย มอก.เดิม (ทั้งผู้ผลิตและ ผู้นำเข้า) จะถูกยกเลิกใบอนุญาตเดิมและต้องทำการขออนุญาตใหม่ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 180 วัน หลังวัน ประกาศในราชกิจจาฯ

สิ่งที่เพิ่มเข้ามา

  • มีการคัดแยก คุณภาพเศษเหล็ก โดยควบคุม P, S อย่างเข้มงวด
  • มีการตรวจสอบค่าเคมีของน้ำเหล็กทุกขั้นตอนการผลิต ด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
  • มีการทำน้ำเหล็กให้บริสุทธิ์อย่างเหมาะสม (ลด P, S และสารฝังใน)
  • เตาหลอมเหล็กต้องมีขนาด 5 ตันขึ้นไป
  • มีมาตรฐานการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี
  • ในเนื้อเหล็กต้องแสดงกรรมวิธีการทำเหล็กแท่ง ที่นำมาทำสินค้า
    • OH กรรมวิธีแบบ Open Hearth   BO กรรมวิธีแบบ Basic Oxygen
    • EF กรรมวิธีแบบ EAF   IF กรรมวิธีแบบ Induction Furnace
  • ต้องเป็นเหล็กกล้าไม่เจือ
  • ในเนื้อเหล็กต้องเพิ่มชื่อผู้ได้รับอนุญาต (ยกเว้นเป็นชื่อเดียวกับผู้ผลิต)

เหล็กกล้าไม่เจือ

หมายถึง เหล็กกล้าที่มีธาตุเจือดังต่อไปนี้ตาม % ที่กำหนด

  • Al น้อยกว่า 3%                                      –   Si น้อยกว่า        0.6%
  • Mn น้อยกว่า 65%                                    –   Cu น้อยกว่า      0.4%
  • Ni น้อยกว่า 3%                                      –   Cr น้อยกว่า       0.3%
  • Pb น้อยกว่า 4%                                      –   Co น้อยกว่า      0.3%
  • W น้อยกว่า          3%                                      –   Ti น้อยกว่า        0.05%
  • V น้อยกว่า            1%                                      –   Zr น้อยกว่า       0.05%
  • Mo น้อยกว่า 08%                                    –   Nb น้อยกว่า     0.06%
  • B น้อยกว่า          0008%

ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า  0.1%  ยกเว้น S, P, C, N

เปรียบเทียบกระบวนการผลิตแบบต่างๆ

EF BO OH IF
วัตถุดิบหลัก เศษเหล็ก เศษเหล็ก + น้ำเหล็ก เศษเหล็ก เศษเหล็ก
การเลือกวัตถุดิบ ไม่จำเป็น ไม่จำเป็น ไม่จำเป็น จำเป็นมาก
กระบวนการทำเหล็กให้บริสุทธิ์ มี มี มี ไม่มี (ถ้าต้องการ ต้องติดตั้งกระบวนการเพิ่ม)
พลังงานที่ใช้ ไฟฟ้า ปฏิกิริยาเคมี เชื้อเพลิง ไฟฟ้า
ขนาดเตาหลอม ขนาดกลางขึ้นไป ขนาดกลางขึ้นไป ขนาดใหญ่ ขนาดเล็กขึ้นไป
พบได้ใน เหล็กก่อสร้างในประเทศ(แบบปกติทั่วไป)

เหล็กก่อสร้างนำเข้า

เหล็กก่อสร้างนำเข้า (ทั้งแบบสำเร็จรูปและวัตถุดิบ) เหล็กก่อสร้างนำเข้า (ค่อนข้างหายาก) เหล็กก่อสร้างในประเทศ (บางโรงงาน) เหล็กก่อสร้างนำเข้า (จากจีน)
มอก. ที่กล่าวถึง มีกล่าวถึงใน มอก. ฉบับเดิม และฉบับใหม่ มีกล่าวถึงใน มอก. ฉบับเดิม และฉบับใหม่ มีกล่าวถึงใน มอก. ฉบับเดิม และฉบับใหม่ มีกล่าวถึงใน มอก. ฉบับใหม่เท่านั้น