Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
ผนังสมาร์ทบอร์ด ใช้ทดแทนผนังก่ออิฐได้จริงหรือ - ตัวแทนจำหน่ายเหล็กทุกชนิด เหล็กเส้น เหล็กไวแฟรงค์ เหล็กเฮชบีม เหล็กไอบีม ราคายุติธรรม

หลายครั้งที่มีคนเอ่ยถึงการนำแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์อย่าง “สมาร์ทบอร์ด” มาใช้ทำฝาผนังทดแทนผนังก่ออิฐ อาจมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในใจมากมายกับการเปรียบเทียบวัสดุทั้งสองชนิดนี้

ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความแข็งแรง การรับน้ำหนักวัตถุที่นำมาติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์บิวท์อินต่างๆ การกั้นเสียงจากภายในไม่ให้ออกภายนอกไม่ให้เข้า การทนต่อสภาวะอากาศภายนอกที่ผันแปร ทั้งแดด ฝน ลมกรรโชกแรง และที่สำคัญคือเรื่องความปลอดภัย เช่น การโจรกรรม หรือ เหตุเพลิงไหม้ ที่ผนังนั้นควรมีความแข็งแรง และสามารถทนไฟได้นานพอที่ทุกคนในบ้านจะหนีได้ทันการณ์

อิฐ” เป็นวัสดุที่ทุกคนรู้จักกันดีและนิยมใช้กันมาตั้งแต่อดีต ในขณะที่การก่อผนังด้วยอิฐต้องพึ่งแรงงานฝีมือช่างซึ่งปัจจุบันหายากมากขึ้นเรื่อยๆ “แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ด” วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ที่สามารถใช้กับงานผนังได้ทั้งภายในและภายนอกในระบบผนังโครงเบา ก็กำลังเริ่มเป็นที่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีคุณสมบัติต่างๆ ที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงหรือเทียบเท่าผนังก่ออิฐอีกด้วย ทั้งเรื่องความแข็งแรง การกันเสียง การทนแดดฝน และการกันความร้อน และที่โดดเด่นคือเรื่องของน้ำหนักที่เบากว่าผนังก่ออิฐถึง 6 เท่า

ความแข็งแรง
เรื่องความแข็งแรงนั้น คนส่วนใหญ่อาจมองว่าผนังก่ออิฐสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าผนังสมาร์ทบอร์ด เพราะสามารถรับน้ำหนักของเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน หรือของที่นำมาแขวนผนังได้แทบทั้งหมด รวมถึงการกรุผิวด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักมาก เช่น กระเบื้อง หรือ หินแกรนิตได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตกหล่น โดยน้ำหนักต่อจุดที่ผนังก่ออิฐสามารถรับได้คือ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ความสามารถในการรับน้ำหนักของอิฐอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกรรมวิธีของผู้ผลิตแต่ละราย)

แต่รู้หรือไม่ว่าการแขวนของบนผนังสมาร์ทบอร์ด หนา 8 มม. โดยใช้พุกพลาสติกผีเสื้อ PT-13 ที่ใช้งานคู่กับตะปูเกลียวแล้วละก็ จะสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 80 กิโลกรัมต่อจุดเลยทีเดียว (หากตอกตะปูเพื่อแขวนของทั่วไป เช่น กรอบรูป นาฬิกาแขวน ฯลฯ จะรับน้ำหนักได้ประมาณ 3-4 กิโลกรัม)

การติดตั้งพุกพลาสติกผีเสื้อ เพื่อยึดแขวนของบนสมาร์ทบอร์ด

การก่อผนังสองชั้นเว้นช่องว่างกลางอากาศตรงกลาง ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน 
ที่มาภาพ: www.bloggang.com/

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า ผนังเบาที่กรุด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์อย่างสมาร์ทบอร์ดนั้น นับว่าทดแทนการใช้ผนังก่ออิฐได้ มิใช่แค่งานต่อเติมบ้าน ปรับปรุงบ้านเท่านั้น

แม้จะเป็นการสร้างบ้านใหม่ทั้งหลัง ก็สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจไร้กังวล หากมีช่างผู้เชี่ยวชาญที่ติดตั้งงานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิตและตามมาตรฐานในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ ที่มากไปกว่านั้นคือ “สมาร์ทบอร์ด” เป็นวัสดุที่สามารถรื้อถอนเพื่อนำไปประกอบติดตั้งใหม่ได้ จึงนับว่าช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้อีกทางหนึ่ง

แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ด 

 

อิฐมอญ
ที่มาภาพ: www.it-angthong.com

การกันเสียงรบกวน
หากเป็นการกั้นห้องภายในบ้านทั่วไป ควรมีค่า STC 38-40 โดยประมาณ ซึ่งการใช้แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร ติดตั้งบนโครงคร่าวสำเร็จจะมีค่าการกันเสียง ประมาณ STC 39  ในขณะที่ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน มีค่าการกันเสียง STC 38

การกันความร้อน
เมื่อพูดถึงการกันความร้อน หากใช้สมาร์ทบอร์ดหนา 8 มิลลิเมตร ติดตั้งกับโครงคร่าวสำเร็จ จะมีค่าการกันความร้อนประมาณ R = 0.5 (m2 K/W) ส่วนผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน มีค่าการกันความร้อนประมาณ R = 0.3 (m2 K/W) จะเห็นได้ว่าผนังก่ออิฐครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้านจะทำให้ภายในบ้านมีอุณหภูมิ สูงมากกว่าการใช้ระบบผนังสมาร์ทบอร์ด

โดยธรรมชาติอิฐมอญเป็นวัสดุที่มีการสะสมความร้อนอยู่ในตัวเอง การใช้ผนังก่ออิฐจะทำให้บ้านร้อนในช่วงกลางวันจนถึงหัวค่ำ หากต้องการให้บ้านไม่ร้อนมากนัก สามารถทำได้โดยการก่อผนังอิฐสองชั้นแล้วเว้นช่องอากาศไว้ตรงกลาง ความร้อนจะมาสะสมอยู่ที่ช่องนี้ก่อน ไม่ส่งผ่านความร้อนโดยตรงสู่ภายในบ้าน

แต่ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลง และยังเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างอีกด้วย
ส่วนงานผนังสมาร์ทบอร์ดสามารถใช้ควบคู่กับการใช้ฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกัน ความร้อนเข้าสู่ภายในบ้าน การทำผนังทั้งสองรูปแบบนี้ นอกจากจะช่วยประหยัดแอร์แล้ว ยังช่วยประหยัดเงินในระยะยาวอีกด้วย
 
การกันความชื้น
ถัดมาคือเรื่องความชื้น ผนังภายนอกที่ต้องเจอกับน้ำฝนซัดสาดมาปะทะผนัง แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดจะมีคุณสมบัติการทนน้ำไม่เปื่อยยุ่ย ไม่บวม น้ำไม่ซึมผ่านไปอีกด้าน เมื่อติดตั้งผนังสมาร์ทบอร์ดเสร็จแล้วแนะนำให้ทาสีรองพื้นปูนเก่า 1 ชั้น และทาทับด้วยสีน้ำอะคริลิกชนิดทาภายนอกอย่างน้อย 2 ชั้นเพื่อการใช้งานที่ยาวนาน

ส่วนอิฐนั้นเป็นวัสดุมีการดูดซึมน้ำที่สูง ผนังก่ออิฐควรใช้ควบคู่กับการฉาบปูนทับหน้าผนังด้านที่ต้องสัมผัสกับภายนอก เพื่อกันไม่ให้น้ำหรือความชื้นซึมผ่านเข้ามาภายในบ้านจนเกิดปัญหากวนใจได้

การทนไฟ
นอกจากคุณสมบัติข้างต้นยังมีเรื่องการทนไฟ ซึ่งควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า

หากต้องการให้ทนไฟ 1 ชั่วโมง การใช้ผนังก่ออิฐครึ่งแผ่นฉาบด้วยปูนทั้งสองด้านจะสามารถทนไฟได้ เทียบเท่ากับ การใช้แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดตราช้างหนา 12 มิลลิเมตรด้านละสองชั้น และกรุตรงกลางด้วยฉนวนกันร้อนทนอุณหภูมิสูงตราช้าง “HI-TEMP 3850

ส่วนการทำผนังให้ทนไฟได้นานถึง 2 ชั่วโมง ต้องเป็นผนังก่ออิฐแบบเต็มแผ่นฉาบปูนทั้งสองด้านของผนัง สำหรับผนังสมาร์ทบอร์ดให้ใช้ที่ความหนา 12 มิลลิเมตรด้านละสองชั้น กรุตรงกลางด้วยฉนวนกันไฟ

การติดตั้งสมาร์ทบอร์ดกับฉนวนกันความร้อน

(ซ้าย) การก่ออิฐแบบเต็มแผ่น สามารถทนไฟได้นาน 2 ชั่วโมง
(การก่ออิฐแบบ เต็มแผ่น คือ การก่ออิฐวางตัวตามแนวขวางของผนัง ทำให้ผนังนั้นมีความหนามากกว่าปกติ เมื่อฉาบปูนเสร็จแล้วจะมีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร)

(ขวา) การติดตั้งผนังสมาร์ทบอร์ดให้ทนไฟได้ 2 ชั่วโมง ด้วยการใช้งานควบคู่กับฉนวนกันไฟ (ฉนวนกันไฟที่ใช้ในการทดสอบคือยี่ห้อ Rockwool)

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก
เอกสาร Ceiling & Wall System Selection
www.thaihomemaster.com
www.rockwool.co.th