Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
การทำความสะอาดเหล็กเสริมความสะอาดของผิวเหล็กเสริมที่ใช้เสริมคอนกรีตเป็นสิ่งจำเป็นมาก

ความสะอาดของผิวเหล็กเสริมที่ใช้เสริมคอนกรีตเป็นสิ่งจำเป็นมาก เนื่องจากจะเกี่ยวข้องกับการเกาะยึดระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริมโดยตรง ดังนั้นก่อนเทคอนกรีตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ อาทิเช่น ฝุ่น สนิมขุม กรด ด่าง น้ำมันหรือสารอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สูญเสียการเกาะยึดให้หมดสิ้นไป การต่อเหล็กเสริม

การต่อเหล็กเสริมในงานคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่ยอมให้มีการต่อเหล็กเสริมก็ตาม แต่ถ้าแสดงไว้ในแบบก็สามารถต่อได้ การต่อเหล็กเสริมนี่อาจต่อได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันโดยทั่วไปได้แก่วิธีต่อทาบ โดยจะต้องให้ระยะทาบไม่น้อยกว่า 50 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเหล็กเส้นทั้งสองที่ต่อกันสำหรับเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และไม่น้อยกว่า 40 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของเหล็กเส้นทั้งสองที่ต่อกันสำหรับเหล็กข้ออ้อย และควรหลีกเลี่ยงการต่อเหล็กเสริม ณ จุดที่จะเกิดหน่วยแรงสูงสุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับเหล็กเสริมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโตกว่า 25 มิลลิเมตร ไม่ควรต่อด้วยวิธีต่อทาบ

การต่อเหล็กเสริมด้วยวิธีต่อทาบสำหรับเหล็กข้ออ้อยเสริมคอนกรีตที่มีแรงอัด 200 กิโลกรัม ต่อ ตร.เซนติเมตรหรือสูงกว่า จะต้องให้ระยะทาบไม่น้อยกว่า 20, 24 และ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กที่มีกำลังจุดคลากเท่ากับ 3500, 4200 และ 5200 กิโลกรัม ต่อ ตร.เซนติเมตร ตามลำดับ แต่จะต้อง ไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และจะต้องเพิ่มระยะทาบอีก 1 ใน 3 จากค่าที่ให้ไว้ข้างต้น ถ้าแรงอัดของคอนกรีตมีค่าต่ำกว่า 200 กิโลกรัม ต่อ ตร.เซนติเมตร

การต่อเหล็กเสริมด้วยวิธีต่อทาบสำหรับเหล็กข้ออ้อยที่ใช้รับแรงดึงของคอนกรีต ระยะทาบจะต้องไม่น้อยกว่า 24, 30 และ 36 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กที่มีกำลังจุดคลากเท่ากับ 2800, 3500 และ 4200 กิโลกรัม ต่อ ตร.เซนติเมตร ตามลำดับ แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

สำหรับเหล็กเสริมชนิดเส้นกลมผิวเรียบ ระยะทาบที่ใช้จะเป็น 2 เท่า ของค่าที่กำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานของเหล็กข้ออ้อย

เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่รับแรงอัดแต่เพียงอย่างเดียว การต่ออาจใช้วิธียันหน้าตัดของปลายเหล็กทั้ง 2 เส้น เข้าด้วยกัน แล้วยึดด้วยปลอกเชื่อมหรือปลอกยึดแบบใดๆ ก็ได้

การต่อเหล็กเสริมพื้นไม่ควรต่อในแนวเดียวกัน หรือในบริเวณใกล้ๆ กันเพราะจะทำให้เกิดจุดอ่อนขึ้นได้ เหล็กเสริมทุกเส้นที่ต่อกันจะต้องผูกมัดด้วยลวดเหล็กอย่างแน่นหนา โดยใช้ลวดเหล็กสองเส้นคู่ผูกแบบสาแหรกบิดเกลียวพอแน่นพับปลายไว้ด้านในและควรงอปลายเหล็กเสริมทุกเส้นที่ต่อกัน และหากต้องการต่อด้วยวิธีเชื่อมก็สามารถที่จะกระทำได้ แต่จะต้องเป็นการเชื่อมที่มีประสิทธิภาพ

ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม

ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่มีผลโดยตรงต่อความปลอดภัยและความแข็งแรงของโครงสร้าง เพราะความหนาของคอนกรีตที่หุ้มถ้าถูกต้องแล้วก็จะสามารถป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเหล็กเสริมได้ ความเสียหายดังกล่าวได้แก่ เหล็กเสริมไหม้ไฟหรือเกิดสนิม เป็นต้น มาตรฐานความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีดังต่อไปนี้คือ

1. สำหรับพื้นและผนังที่ผิวคอนกรีตไม่ได้สัมผัสกับดินหรือถูกแดดฝนโดยตรง ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มในด้านนั้นต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร หรือไม่น้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ใหญ่ที่สุด และจะต้องเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร สำหรับพื้นหรือผนังที่ต้องการขัดตกแต่งผิวส่วนพื้นและผนังที่ต้องสัมผัสกับน้ำ ดินชื้น หรือภูมิอากาศภายนอกโดยตรง จะต้องให้ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร

2. สำหรับคาน ควานหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร หรือไม่น้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ใหญ่ที่สุด หรือหุ้มเหล็กปลอกไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร และจะต้องเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร สำหรับคานที่ต้องสัมผัสกับภูมิอากาศภายนอกโดยตรง

3. สำหรับเสาสี่เหลี่ยมขนาดเล็กกว่า 20 เซนติเมตร ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มจะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร ส่วนเสาสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่า 20 เซนติเมตร ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มจะต้องไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร หรือหุ้มปลอกไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร และจะต้องเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร สำหรับคานที่ต้องสัมผัสกับภูมิอากาศอากาศด้านนอกโดยตรง

4. สำหรับเสาเข็ม คอนกรีตที่หุ้มจะต้องไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร

5. สำหรับฐานรากเนื่องจากต้องสัมผัสกับดินชื้นหรือน้ำโดยตรง ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มจึงไม่ควรน้อยกว่า 5 เซนติเมตร

6. สำหรับงานคอนกรีตในทะเลซึ่งต้องสัมผัสกับกรดเกลือโดยตรง ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มจะต้องไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร

คานคอดินสำหรับผนังคอนกรีต

ในการหล่อผนังคอนกรีต เพื่อที่จะป้องกันการทรุดตัวอันเกิดจากน้ำหนักของตัวผนังเอง ซึ่งทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว จะกระทำได้โดยการใช้คานคอดินเป็นตัวรองรับ และเพื่อที่จะทำให้มีการกระจายน้ำหนักที่ดี คานคอดินดังกล่าว จะต้องมีความกว้างมากกว่าความหนาของผนังคอนกรีต

บนดินที่มีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดี วิธีปฏิบัติโดยทั่วๆ ไป การกำหนดขนาดของคานคอดินก็คือ ความลึกของคานคอดินอย่างน้อยจะต้องเท่ากับความหนาของผนังคอนกรีต ส่วนความกว้างจะเป็นสองเท่าของความหนาของผนัง ดังตัวอย่างเช่น ถ้าผนังคอนกรีตหนา 8 นิ้ว ก็คือจะมีงานคอดินลึกอย่างต่ำ 8 นิ้ว กว้าง 16 นิ้ว

ในประเทศหนาว คานคอดินจะต้องวางอยู่ในตำแหน่งซึ่งต่ำกว่าระดับที่น้ำแข็งตัว (frost line) ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสถานที่ ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก ระดับดังกล่าวนี้อาจจะลึกถึง 1.00 ถึง 1.20 เมตรก็มี คานคอดินควรจะวางอยู่บนพื้นดินที่มีสภาพเดียวกันหมด ถ้าเป็นไปไม่ได้เช่นบนพื้นที่ดังกล่าวอาจจะมีทั้งดินและหิน ก็อาจจะแก้ไขได้โดยการขุดให้ลึกลงไปอีกไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว แล้วใช้ดินถมหรือทรายถมอัดให้แน่น

ถ้าดินที่รองรับคานคอดินเป็นดินแข็งและแน่น การสร้างแบบก็ไม่จำเป็น เพียงแต่ขุดลงไปเป็นร่องเท่ากับขนาดของคาน แล้วเทคอนกรีตลงในร่องดังกล่าวได้เลย แต่ถ้าเป็นดินร่วนก็จำเป็นที่จะต้องขุดร่องให้มีขนาดกว้างกว่าขนาดของคาน แล้วใช้ไม้วางลงไปกั้นทำแบบตามขนาดของคาน จากนั้นจะต้องมีการค้ำยันแบบเป็นอย่างดีก่อนการเทคอนกรีต

Cr: http://www.thecontender-movie.com